วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะอู่ทอง

ศิลปะอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ 18-20)

อาณาจักรอู่ทอง เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีความ สัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี   ศรีวิชัย  ลพบุรี  รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่างๆ  ดังที่กล่าวมาแล้วลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยมคิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก  สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี  ปลายตัดตรงพระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชีรับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็นแบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย


   ศิลปะอู่ทอง  เป็นรูปแบบของศิลปะไทยยุคแรก ๆ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ ที่เริ่มเป็นตัวของตัวเองแล้ว โดยสลัดอิทธิพลจากอินเดีย แต่ยังคงได้รับอิทธิพลครอบงำอย่างเต็มที่ จากศิลปะขอมแบบอาณาจักรนครหลวง (ด้วยในพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘ อาณาจักรขอมมีความรุ่งโรจน์อย่างสุดขีด จึงเป็นศูนย์กลาง ที่ส่งอิทธิพลไปยังนครต่างๆ ที่ใกล้เคียงจนทั่ว ทำนองเดียวกันกับศิลปะอินเดีย ในยุครุ่งเรืองของราชวงศ์ปัลลวะและปาละ ที่ส่งอิทธิพลข้ามน้ำข้ามทะเล มาจนถึงแหลมอินโดจีน) จึงทำให้ศิลปะอู่ทองและศิลปะลพบุรีรุ่นแรก ๆ มีสำเนียงใกล้ไปทางขอมมากกว่าชาติอื่น
       รูปแบบของศิลปะอู่ทอง สามารถพบได้จาก
๑. ใบเสมาหินทรายสลัก วัดเสลี่ยง จ.พระนครศรีอยุธยา จากลายขมวดเถาไม้เลื้อยแกะสลักที่ฐานใบเสมานี้ เราจะเห็นหลักฐานการปรากฏเค้าของโครงกนก ๓ ตัว ซึ่งต่อมาจะได้รับการพัฒนา จนกลายเป็นลายกนก ๓ ตัวที่สมบูรณ์แบบในสมัยอยุธยา
๒. ลายปูนปั้นประดับภายนอกวิหารวัดไลย์ จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นศิลปะสมัยลพบุรีตอนปลาย และร่วมสมัยกับอู่ทองตอนปลาย
๓. ลายจำหลักบนใบเสมาหินทราย ที่วัดขนอน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

ข้อสังเกตพระพุทธรูปแบบอู่ทอง
  เราจะสังเกตได้ว่าพระพุทธรูปแบบอู่ทอง เช่น พระประธาน วัดธรรมิกราชอยุธยา และพระปูนปั้น ที่ซุ้มปรางค์วัดสองพี่น้อง เมืองสรรค์บุรี กับพระอู่ทองรุ่น ๑ ทุกองค์ ที่เรามักเรียกกันว่า เป็นแบบแผนของศิลปะลพบุรี (ศิลปะลพบุรีคือ ศิลปะพื้นเมืองผสมศิลปะขอม) คือ มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม คิ้วหักมุมแบบอู่ทองโดยแท้ และลวดลายประดับต่าง ๆ จะมีลักษณะของศิลปะขอมแบบบายน (พ.ศ. ๑๗๐๐-๑๗๙๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น